วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ









ประติมากรรม (Sculpture)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php
1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น







http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร
ประเภทของงานประติมากรรม
1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด




http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ

http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php



3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ







http://www.mew6.com/composer/art/sculpture.php

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร

วิชาชีพพยาบาลนั้นเป็นอาชีพซึ่งต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลซึ่งมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งในการทำหน้าที่ของพยาบาลที่ดีนั้น ในการปฎิบัติงานเพื่อดูแลผู้ป่วยแต่ละราย เราต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ ....ศาสตร์ก็คือความรู้ต่างๆ ที่ได้รับรู้มาอย่างถูกต้องว่าควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยเช่นไร ถึงจะทำให้เขามีอาการดีขึ้นและหายป่วยสามารถกับไปใช้ ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยแต่ละราย เราจะอาศัยเพียงศาสตร์ อย่างเดียวมิได้พึงระลึกไว้เสมอว่าผู้ป่วยแต่ละรายเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย ต่างมีความกลัวตายกลัวการเจ็บปวด และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ดั้งนั้นในการให้การพยาบาลผู้ป่วยต้องเข้าใจ ความรู้สึกของผู้ป่วย ว่าอยู่ในสภาวะใด มีความวิตกกังวลอะไร เราควรจะให้การพยาบาล อย่างไร เช่น ในการทำแผลผู้ป่วยถ้าเราใช้เพียงศาสตร์อย่างเดียวในการพยาบาลผู้ป่วย เรา ก็เพียงแต่ทำแผลตามลำดับขั้นตอน ก็คือเสร็จเรียบร้อยแต่จริงๆแล้วในการทำแผลผู้ป่วย เรา ต้องใช้ศิลป์ไปด้วย ต้องพูดคุย ลดความวิตก ทำแผลด้วยความนิ่มนวล รับรู้ถึงความรู้สึก เจ็บปวดเช่นเดียวกับผู้ป่วย นอกจากนี้จะต้องมีคุณภาพตามศาสตร์ที่ได้เรียนมา และใช้ให้ สอดคล้องกับการพยาบาลผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ ที่ต่างกัน เพราะผู้ป่วยแต่ละรายก็มีปัญหาที่ต่างกัน ความรู้สึก การรับรู้ก็ต่างกันทำให้เห็นได้ว่า สุนทรียศาสตร์มีความจำเป็นมากในวิชาชีพพยาบาล ที่จะทำให้ การ พยาบาลผู้ป่วยแต่ละรายให้ได้คุณภาพและเกิดความพึงพอใจกับผู้ป่วย