วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550







ประติมากรรมรูปคนของไทย กล่าว โดยสรุปมีลักษณะพิเศษดังนี้
ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบสร้างความงามของรูปให้เกิดโดยการแสดงความสูงต่ำของพื้ นผิว รูปทรงช่องไฟแสดงความโค้งเว้าของปริมาตรทั้งส่วนพระเศียร พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหา จนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้น รูปนอกและเ ส้นภายในมีความอ่อนหวานทั้งส่วนละเอียดและส่วนรวม
ไม่แสดงความเหมือนจริงและไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัด เจนรวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์
ไม่นิยมปั้นรูปเหมือน ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลไว้สักการะบูชา นอกจากการสร้างรูปแทนเท่ านั้น รูปแทนเหล่านั้นมักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป
ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นอย่างมีระเบียบและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า ปาง



ไม่มีความคิดเห็น: