วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550




ประติมากรรมเล่าเรื่อง
เป็นประติมากรรมประกอบศิลปสถาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนคติความเชื่อทางศา สนาด้วยการพรรณนาหรือเล่าเรื่องด้วยภาพประติมากรรมทางเทคนิคปั้นปูนหรือแกะสลัก ลักษณะของภาพประติมากรรมเป็นภาพนูน สูงและภาพนูนต่ำมีพื้ นหลังรองรับเรื่องที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ ซึ่งมักเลือกแสดงเหตุการณ์ตอนที่สำคัญ หรือ น่าพิศวงกล่าวคือ ภาพแต่ละกลุ่มสร้างขึ้นด้วยตัวเอกที่มีพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้น ๆ เป็นประธานหรือเป็น หลักขององค์ประกอบ และมีตัวประกอบที่สำคัญตามแนวเรื่องที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว รวมทั้งแทรกสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนของอาคารเป็นฉากหลังเท่า ที่จำเป็น เพื่อทำให้ผู้ดูได้ทราบเรื่องราวตอนนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่น ภาพปูนปั้นปางเสด็จจากดาวดึงส์ ในซุ้มทิศใต้ของพระมณฑปวั ดตระพังทองหลาง สุโขท ัย มีลักษณะเป็นภาพปูนปั้นรูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นภาพนูนสูง ปางลีลา มีพระพุทธลักษณะแบบสุโขทัยงดงามมากเคลื่อนองค์อยู่บนรัตนโสปานะ (บันไดแก้ว) แวดล้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม ที่มีขนาดรูปร่างเล็กกว่า ภาพนูนต่ำกว่า ภาพทศชาติป ั้นปูน หน้าพระอุโบสถวัดไลย์ ลพบุรี ภาพเรื่องปฐมสมโพธิกถาปั้นด้วยปูนที่เมรุทิศ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประติมา กรรมผนังเรื่องพุทธประวัติรอบพระวิหารพุทธบาทวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีภาพประติมากรรมเล่า เรื่อ งวรรณคดี เช่น ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ประดับผนังระเบียงพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหา นคร จำนวน 154 ภาพ เป็นต้น ประติมากรรมเหล่านี้ นอกจากจะแสดงคุณค่าทางเรื่องราว คุณค่าทางฝีมือและการแสดงออกของประติมากรรม เองแล้ว ยั งมีส่วนช่วยตกแต่งสถาปัตยกรรมนั้นให้อลังการและทรงคุณค่ามากขึ้นอีกด้วย

ภาพนก

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550






ประติมากรรมตกแต่ง โดย นายสุรศักดิ์ เจริญวงศ์
ประติมากรรมตกแต่ง เป็นงานประติมากรรมซึ่งแฝงอยู่กับศิลปกรรมอื่นๆ ตั้งแต่สถา-ปัตยกรรมจนถึงประณีตศิลป์ที่เป็นเครื่องประดับตกแต่งศิลปสถานและศิลปวัตถุให้เกิดคุณค่าความงาม ความโอ่อ่า อลังการ ส่งเสริมให้ศิลปสถานและศิลปวัตถุเหล่านั้นแสดงเอกลักษณ์และความเป็นไทยมากขึ้น ประติมากรรมตกแต่งเหล่านี้



แบ่งออกตามลักษณะหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยได้ ๓ ประเภทคือ



๑. ประติมากรรมลวดลาย



๒. ประติ-มากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ



๓. ประติมา-กรรมเล่าเรื่อง






ประติมากรรมสะท้อนความเชื่อ






ประติมากรรมรูปคนของไทย กล่าว โดยสรุปมีลักษณะพิเศษดังนี้
ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบสร้างความงามของรูปให้เกิดโดยการแสดงความสูงต่ำของพื้ นผิว รูปทรงช่องไฟแสดงความโค้งเว้าของปริมาตรทั้งส่วนพระเศียร พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหา จนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้น รูปนอกและเ ส้นภายในมีความอ่อนหวานทั้งส่วนละเอียดและส่วนรวม
ไม่แสดงความเหมือนจริงและไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัด เจนรวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์
ไม่นิยมปั้นรูปเหมือน ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลไว้สักการะบูชา นอกจากการสร้างรูปแทนเท่ านั้น รูปแทนเหล่านั้นมักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป
ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นอย่างมีระเบียบและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า ปาง



นกอิสระ


ประวัติส่วนตัว

เกิด 4 พฤศจิกายน 2516

ที่อยู่อาศัย 102/1 ม. 3 ต.คุ้งพยอม อ. บ้านโป่ง
จ.ราชบุรี 70110

สถานที่ทำงาน สถานีอนามัยตำบลคุ้งพยอม




วันนี้หรือวันไหน........หัวใจของฉันก็ยังเหมือนเดิม

วันนี้หรือวันไหน.......ชีวิตฉันก็ยังจะก้าวเดิน















ประติมากรรมรูปเคารพ
ประติมากรรมรูปเคารพ เป็นงานศิลปกรรมเพื่อแสดงความเชื่อทางศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพ ุทธศาสนา เป็นการรับใช้พระพุทธศาสนาในทางศิลปะด้วยงานศิลปกรรม เนื่องจากสังคมไทย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ ้ง และมีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน จึงเชื่อคำสั่งสอนของพุทธศาสนาอย่างฝังใจ ได้แก่ เชื่อในพระรัตนตรัยเชื่อในการกระทำของมนุษย์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในความจริง ตลอดจนเชื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ รูปแบบของประติมากรรมจึงเป็น รูปทรงแห่งวัตถุที่ได้รับ การสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทน เป็นสิ่งพรรณนาความรู้สึกอุดมคติ และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม
อาจแบ่งประติมากรรมรูปเคารพตามลักษณะของการแสดงออกได้ 2 ประเภทคือ ประติมากรรมรูปคน และประติมากรรมรูปสัญลักษณ์
ประติมากรรมรูปคน ในประเทศไทยพบประติมากรรมรูปที่เป็นรูปเคารพตามคติทางศาสนาต่าง ๆ คือ เทวรูปในศาสนาฮินดู พระพุท ธรูปและ พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและพระพุทธรูปในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท ประติมากรรมรูปคนที่สร้าง ขึ้นเพื่อเค ารพบูชานี้ถือ การสร้างพระพุทธรูปเป็นประติมากรรมรูปคนที่สำคัญและมีการสร้างสรรค์เป็นจำนวนมากที่สุด
ประติมากรรมรูปสัญลักษณ์ เป็นประติมากรรมที่ได้รับรากฐานอิทธิพล การสร้างมาจากอินเดียโบราณภายหลังพระพุทธองค์เ สด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการสร้างรูปเคารพแสดงเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นพุทธประวัติขึ้น